คู่มือ รวมวิธีติด Tracking Code บนเว็บไซต์ ที่ทำได้ง่ายๆ

คู่มือ รวมวิธีติด Tracking Code บนเว็บไซต์ ที่ทำได้ง่ายๆ

ถ้าเราต้องการสร้างเว็บไซต์การตลาดสักหนึ่งเว็บเนี้ย สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือการติดตั้ง Tracking Code ต่าง ๆ เพราะเจ้าตัว Tracking ทั้งหลายจะช่วยให้คุณสามารถเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปช่วยพัฒนาเว็บไซต์หรือธุรกิจต่อได้ วันนี้ ผมได้ทำคู่มือรวบรวมวิธีในการติดTracking Codeบนเว็บไซต์ที่นิยมใช้เป็นประจำมาฝากกันครับ

1. Google Tag Manager (GTM)

Google Tag Manager เครื่องมือที่หลาย ๆ คนรู้จักกัน จะช่วยคุณจัดการกับแท็กต่าง ๆ บนเว็บไซต์ คุณสามารถใส่แท็กได้ไว้ในที่นี่ที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น Google Analytics Tracking ID หรือ Facebook Pixel ซึ่งปกติเมื่อคุณนำ Script หรือ Code มาใส่ไว้ใน GTM แล้วนำเลข ID ของ GTM ไปติดไว้บนเว็บไซต์ คุณก็สามารถติดตามผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

วิธีการสมัคร

  1. คุณต้องมีบัญชี G Suite หรือ Gmail เป็นของตัวเองก่อน
  2. เข้าไปยังเว็บไซต์ https://marketingplatform.google.com/about/tag-manager/ เพื่อลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Gmail ของคุณเอง
  3. หลังจากที่ลงชื่อเข้าใช้เรียบร้อยแล้ว เว็บจะเด้งมาที่หน้าแรกของการใช้งาน GTM ให้คุณคลิกที่ “Create Account” เพื่อทำการสร้าง Account ในครั้งแรก
  4. หลังจากคลิก “Create Account” เรียบร้อย จะเด้งมายังหน้าที่คุณกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
    – ใส่ชื่อ Account Name หรือ ชื่อโปรเจกต์ของคุณเอง
    – เลือกประเทศที่ Account ของคุณอยู่
    – ใส่ URL เว็บไซต์
    – เลือกประเภทของ Platform
    – กด Create เพื่อทำการสร้างบัญชี
  5. หลังจากนั้น จะมี Terms of Service Agreement เด้งขึ้นมาให้อ่าน ก็อ่านรายละเอียดแล้วติ๊กยอมรับแล้วกด “Yes” เพื่อเริ่มต้นใช้งานครับ และเมื่อสร้างเสร็จ คุณก็จะได้โค้ดเพื่อไปติดตั้งในเว็บไซต์ต่อไปครับ

วิธีการติดตั้ง

(สำหรับคนที่ใช้งาน WordPress ทำได้ง่าย ๆ เลยครับ)

  1. เมื่อคุณเปิดใช้งาน Account GTM เรียบร้อยแล้ว ได้โค้ดสำหรับติดตั้งมาเรียบร้อยแล้ว วิธีง่าย ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้มาทางสายโค้ดดิ้ง มุ่งตรงไปที่หลังบ้าน WordPress ของคุณเลยครับ เราจะใช้การติดตั้ง GTM ผ่านปลั๊กอินครับ
  2. ทำการติดตั้งปลั๊กอินเพิ่ม ในที่นี่ผมขอแนะนำปลั๊กอินตัวนี้ นั่นก็คือ Google Tag Manager for WordPress เพราะง่ายและสะดวก
  3. หลังจากที่ติดตั้งและ Activate เรียบร้อยแล้ว เราจะต้องเอา ID จากหน้า GTM มาวางที่ Setting → Plug-in → Google Tag Manager for WordPress แบบในรูปเลยครับ หลังจากนั้น บันทึกมันเลย

2. Google Analytics (GA)

เรามาต่อกันด้วย Google Analytics วิธีที่ผมจะมาแนะนำนั่นก็คือวิธีการเชื่อมต่อ Google Analytics ผ่านตัว Google Tag Manager มาดูวิธีทำกันเลยครับ

วิธีการสมัคร

  1. ก่อนอื่นเลยครับ ต้องมีบัญชี G Suite และ Gmail ก่อนครับ
  2. เข้าไปยังเว็บไซต์ https://marketingplatform.google.com/about/analytics/ แล้วทำการลงชื่อเข้าใช้ได้เลย
  3. หลังจากนั้นให้ทำการสมัครใช้งาน Google Analytics ก่อน โดยการกดปุ่ม Sign up
  4. ระบบจะเด้งมายังหน้าสำหรับการสมัคร ให้คุณทำการกรอกชื่อบัญชี โดยจะใช้ชื่อเว็บไซต์หรือชื่ออื่นก็ได้ เพราะใน 1 บัญชี สามารถดูแลได้หลายเว็บไซต์เลย
  5. หลังจากนั้น ระบบจะให้คุณกรอกชื่อ Property ประเทศที่เว็บไซต์อยู่ รวมถึงสกุลเงินของประเทศนั้น และอย่างที่รู้กันว่า GA ได้ออกตัว GA4 มาเป็นเวอร์ชันใหม่ ดังนั้น คุณต้องกดตัวเลือกขั้นสูง เพื่อสร้าง Property Universal Analytics และ Google Analytics 4 พร้อมกันไปด้วยครับ
  6. ขั้นตอนต่อมา ทาง GA จะให้คุณเลือกหมวดหมู่อุตสาหกรรม ขนาดของธุรกิจ และจุดประสงค์ที่จะนำ GA ไปใช้ในธุรกิจ หลังจากนั้นก็สร้างมันขึ้นมาเลยครับ
  7. เมื่อกดสร้างปุ๊บ คุณจะต้องยอมรับ Policy ของเขา โดยต้องเลือกเป็นประเทศไทยก่อน แล้วจึงกดยอมรับเพื่อสร้างครับ
  8. เมื่อสร้างเสร็จเราจะได้ Tracking ID ทั้งของ Universal Anlytics และ Google Analytics 4 มาเพื่อให้ไปติดที่ GTM ได้เลยครับ

วิธีการติดตั้ง

(เป็นวิธีติดตั้ง Google Analytics ผ่านตัว Google Tag Manager ครับ)

  1. ขั้นตอนแรก ให้คุณกลับมาที่ Google Tag Manager ก่อนครับ จากนั้นทำการเพิ่มแท็ก แล้วกดกำหนดค่าแท็ก
  2. จากนั้นให้ทำการเลือกแท็ก โดยเราจะเลือกที่ Universal Analytics ก่อน แล้วค่อยเลือกการกำหนดค่า GA4 และ เหตุการณ์ GA4
  3. หลังจากนั้น ให้คุณ Track Type เป็น Page View จากนั้นเลือก New Variable เพื่อนำ Tracking ID มาใส่ หลังจากนั้นให้กดบันทึกครับ
  4. ขั้นตอนต่อมา คือการเลือก Trigger ว่าต้องการจะให้แท็กที่หน้าไหนบ้างของเว็บไซต์คุณ ในที่นี้ ผมจะเลือกเป็น All Page เพื่อให้แท็กทุกหน้าของเว็บไซต์เลยครับ หลังจากนั้นให้คุณกดบันทึกทั้งหมดได้เลย
  5. เมื่อบันทึกเสร็จแล้วอย่านึกว่าเสร็จนะครับ เพราะคุณต้องกด Submit เพื่อให้ข้อมูลการแท็กทุกอย่างส่งไปด้วยครับ

เพียงทำขั้นตอนเหล่านี้ คุณก็สามารถสร้างและเชื่อมต่อ Google Tag Manager และ Google Analytics ได้แล้วครับ ต่อไป ผมจะมาบอกขั้นตอนการติดแท็ก Google Search Console ไปกันต่อเลยครับ

3. Google Search Console

อย่างที่หลากคนรู้กันว่าครับ ว่า Google Search Console เนี้ย ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบดัชนีและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้คุณ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้า Search Engine งั้นเรามาดูวิธีสมัครกับติดตั้งกันดีกว่าครับ

วิธีการสมัคร + ติดตั้ง

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://search.google.com/search-console/about และกดเริ่มใช้งานได้เลย (อย่างที่บอกครับ ต้องมีบัญชี G Suite หรือ Gmail ก่อน ถ้าต้องใช้บริการของ Google ต้องมีทุกเครื่องมือเลยครับ สมัครครั้งเดียวใช้ได้ทุกเครื่องมือนะ)
  2. ถัดมา คือการเพิ่ม Website Propertyจะเห็นได้จากภาพด้านบนว่า จะมี 2 ฝั่งให้เลือก ระหว่าง Domain กับ ตัว URL prefix ซึ่งทั้ง 2 อย่างเป็นดังนี้

    Domain – เป็นการเพิ่มเว็บไซต์โดยใช้ชื่อโดเมนของคุณเอง จะทำให้เราสามารถดู report ได้ทั้งหมด ไม่ว่า subdomain จะเป็นอะไร
    URL prefix – เป็นการเพิ่มเว็บไซต์โดยการเพิ่มทีละ URL ระบุแบบเจาะจงไปเลยว่าต้องการดู URL ไหนในโดนเมนของคุณ

    หลังจากเลือกและกรอก URL เสร็จ ให้กดดำเนินการต่อได้เลย

  3. เมื่อกดดำเนินการแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการ Verify URL เพื่อเป็นการยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของโดเมนนั้นจริง ๆ
  4. เมื่อยืนยันเรียบร้อย คุณจะต้องดำเนินการติดตั้งต่อ ซึ่งการติดตั้งที่ผมแนะนำสำหรับท่านที่ไม่แม่นทางโค้ดดิ้งมาก คือการใช้ปลั๊กอินของตัว WordPress เลยครับ อย่างเช่น Yoast SEO เป็นต้น ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ก็คือ
    – เลือก HTML Tag เพื่อคัดลอกไปวางที่ Google Verification Code ของปลั๊กอินที่คุณใช้บนเว็บไซต์
    – กด Save กลับไปที่หน้า Google แล้วกด Verify

หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย อาจจะต้องรอสัก 2-3 วัน เผื่อให้ตัว Google Search Console ซิงก์กับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อดึงข้อมูลต่าง ๆ มาโชว์ให้คุณดูครับ

วิธีการส่ง Sitemaps

  1. เข้าไปยังหน้า Google Search Console แล้วเลือก Sitemaps (แผนผังเว็บไซต์)
  2. ถัดมาให้เอา URL ที่คุณต้องการส่ง Sitemaps มาวางที่ช่องเพิ่มแผนผังเว็บไซต์ใหม่ หลังจากนั้นให้กดเพิ่ม
  3. Google จะใช้เวลาสักพักในการที่จะดึงข้อมูล Sitemaps ของคุณมาแสดงยังหน้านี้

Facebook Pixel

Facebook Pixel เป็นโค้ดไม่กี่บรรทัดที่ให้คุณไปติดบนเว็บไซต์ แล้วหลังจากนั้น เวลาที่คุณมีแคมเปญหรือทำโฆษณาบน Facebook จะสามารถนำกลุ่มคนที่เข้ามายังเว็บไซต์ มาทำ Remarketing ได้ (ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมาก ๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องการทำโฆษณาผ่านช่องทางนี้) ทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มได้เป็นอย่างดี

วิธีการติดตั้ง

สร้าง Facebook Custom Audience

  1. ก่อนอื่นเลย คุณต้องมี Facebook Page และ Ad Account ก่อน (ถ้ายังไม่มีไปสมัครกันก่อนได้นะครับ)
  2. เมื่อมีทั้ง 2 อย่างแล้ว ให้คุณเข้าไปยัง https://business.facebook.com เพื่อทำการสร้าง Facebook Custom Audience โดยคลิกที่ Audience → Custom Audience → Website Traffic
  3. คุณสามารถเลือกได้ว่า Audience ของคุณ ได้ทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้
    – คนที่เข้ามายังเว็บไซต์
    – คนที่เข้ามายังเว็บไซต์ไปแค่บางหน้า
    – คนที่เข้ามายังเว็บไซต์ไปแค่บางหน้า และไม่ได้เข้าหน้าอื่น ๆ
    – คนที่ไม่ได้เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    หรือคุณจะสามารถเลือกได้ทั้ง 4 แบบเลย โดยเลือก Custom Combination ก็ได้
  4. กำหนดอายุของ Audience ของคุณได้ อายุที่ว่าคือหมายถึงระยะเวลาที่เข้ามาเว็บไซต์ล่าสุด หลังจากนั้น ก็ Create Audience ได้เลย แต่เมื่อสร้างเสร็จยังใช้ไม่ได้นะ จนกว่าคุณจะนำ Facebook Pixel ไปติดบนเว็บไซต์

ติด Facebook Pixel บนเว็บไซต์

  1. ผมขอเตือนไว้ก่อน ถ้าหากคุณไม่ถนัดหรือไม่ได้รู้ทางเทคนิคมากนัก สามารถเดินไปถามนักพัฒนาเว็บไซต์ของคุณได้ แต่ถ้าอยากลองเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับผม ตามมาครับ
  2. เข้าไปที่หน้า https://business.facebook.com ครับ หลังจากนั้น กดที่ปุ่มซ้านด้านบน เลือก Event Managers
  3. เลือก Data Source และ Create แล้วคุณจะได้โค้ด Facebook Pixel มา 1 ชุดครับ
  4. เสร็จแล้ว ให้นำโค้ด Facebook Pixel ไปใส่ไว้ที่ส่วน Header บนหน้าเว็บไซต์ที่คุณต้องการ Tracking โดยใส่ระหว่าง <head>…</head> (ผมถึงบอกว่าถ้าคุณไม่ถนัด น่าจะอยากนิดหน่อย)
  5. อีกวิธีที่ง่ายสำหรับคุณ ๆ ที่ไม่ถนัดทางเทคนิค ไปโหลดปลั๊กอินของ WordPress มาใช้เลยครับ แต่ว่าจะเป็นปลั๊กอินที่เป็นตัวพรีเมี่ยมหน่อย นั่นก็คือ Tracking Code Manager จะช่วยให้การใส่โค้ด Facebook Pixel ของคุณง่ายขึ้น เพราะคุณสามารถใส่ผ่านปลั๊กอินได้เลย โดยไม่ต้องมาแก้โค้ดเว็บไซต์ให้ยุ่งยาก
  6. เมื่อทำการติดตั้งแล้ว อาจจะต้องรอเวลาสักหน่อย ให้มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่ง แล้วคุณจะสามารถไปทำ Remarketing ได้ครับ

HubSpot

และวิธีติด Tracking Code ตัวสุดท้ายที่ผมจะมาแนะนำก็คือ HubSpot หลายคนอาจจะรู้จักและอาจจะไม่รู้จัก แต่ผมเคยได้ใช้งาน HubSpot ดังนั้น ผมเลยแถมการติด Tracking Code ของซอฟต์แวร์ตัวนี้ให้ด้วยครับ มาลองดูกันว่าทำได้ยังไงบ้าง

  1. ก่อนอื่นเลยคุณต้องไปคัดลอก HubSpot Tracking Code เพื่อนำมาใช้งานก่อน โดยไปที่บัญชี HubSpot นั้น แล้วเลือกที่ Settings
  2. หลังจากนั้น ไปที่ Tracking & Analytics Settings คุณจะเจอกับ HubSpot Tracking Code ที่จะนำมาใช้งาน

ซึ่งวิธีการติดตั้ง Tracking Code ต่อไปนี้ ผมจะสอนวิธีการติดตั้งบนเว็บไซต์ WordPress มาดูวิธีการกันเลยครับ

  1. ปกติแล้ว ใน WordPress ถ้าคุณใช้ปลั๊กอินจะง่ายสำหรับการติดตั้ง Tracking Code ต่าง ๆ เพราะปลั๊กอินจะเชื่อมต่อระหว่าง HubSpot กับ WordPress ให้คุณอัตโนมัติ ซึ่งปลั๊กอินที่ผมแนะนำนั้น ก็คือ HubSpot All-in-One Marketing-Forms, Pop-ups, Live Chat WordPress Plugin
  2. แต่ถ้าหากคุณไม่อยากใช้ปลั๊กอิน มีอีกวิธีเหมือนกันครับ เมื่อคุณคัดลอกโค้ดบน HubSpot เรียบร้อยแล้ว ให้คุณเข้าที่หลังบ้าน WordPress และลงชื่อเข้าใช้งาน
  3. ในเมนูด้านซ้าย ให้ไปที่ Appearance แล้วเลือก Editor
  4. ในธีมด้านขวา ให้เลือกแก้ไข Footer ของคุณ โดยการวางโค้ดที่คัดลอกไว้ แล้วอัปเดตไฟล์หน้านั้น เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถติดตั้งได้เรียบร้อยแล้วครับ

เห็นไหมครับ ว่าการติดตั้ง Tracking Code แต่ละตัวนั้นไม่ได้ยากเลย แม้คุณจะไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคหรือโค้ดดิ้งก็สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง เพียงทำไปพร้อม ๆ กับวิธีของผม แต่ถ้าใครมีปัญหาตรงไหน หรือติดตรงไหน สามารถส่งมาสอบถามได้เลยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.