ปกติแล้ว เวลาที่ธุรกิจสร้างแคมเปญการตลาด นอกจากการโปรโมทแคมเปญนั้น ๆ สิ่งที่ธุรกิจต้องการคืออยากให้ผู้ที่พบเห็นหรือผู้ที่มีโอกาสจะมาเป็นลูกค้า กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อแคมเปญหรือธุรกิจของตัวเอง Call to Action เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่จะช่วยตอบสนองความต้องการทั้งในฝั่งของลูกค้าเองและฝั่งของตัวธุรกิจเอง วันนี้ ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องมือตัวนี้ว่ามันคืออะไร ใช้งานอย่างไร และมีประโยชน์ต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน มาดูกันครับ…
Call to Action คืออะไร
Call to Action คือการกระตุ้นให้ตัดสินใจหรือให้ผู้ที่พบเห็นตอบสนองกับอะไรบางอย่าง โดยปกติจะถูกนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนจากผู้ชมทั่วไปให้กลายมาเป็นลูกค้า ปุ่มเหล่านั้นจะมีจุดประสงค์ต่างกันไปตามแคมเปญการตลาด ยกตัวอย่างเช่น
- ซื้อสินค้าหรือบริการ
- ดาวน์โหลด E-Book
- ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร
- แชร์บทความลงโซเชียล
ซึ่งปกติเวลาที่ทำแคมเปญเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้คำที่เชิญชวนและน่าสนใจ ปุ่มจะต้องดูโดดเด่น จนผู้ใช้งานอยากคลิก โดยทั่วไปแล้ว Call to Action จะปรากฏอยู่ตามที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ปุ่มบนหน้าเว็บไซต์
เป็นตำแหน่งที่ผู้ชมเว็บไซต์จะเห็นได้บ่อยที่สุด โดยปกตินักออกแบบเว็บไซต์ มักออกแบบและวางปุ่มไว้ในตำแหน่งที่ผู้เข้าชมเข้ามาแล้วจะพบเห็นได้ทันที - ปุ่มแคมเปญหรือป๊อบอัพเว็บไซต์
เมื่อคุณรันแคมเปญหรือสร้างป๊อบอัพบนหน้าเว็บไซต์ ต้องสั้นและกระชับ สามารถโน้มน้าวใจผู้ชมได้ทันทีที่เห็น ดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ทันทีว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการคลิก - Anchor ใน Blog
ปกติในบล็อกหรือบทความมักมีการแฝงลิงก์เข้าไปใน Text หรือประโยคใดประโยคหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการเชิญชวนให้ไปอ่านบทความอื่น ๆ ต่อ หรือเป็นบทความที่เกี่ยวกับบริการของธุรกิจ และเขียนลงท้ายให้ผู้อ่านคลิกเข้าไปเพื่อใช้บริการก็ได้เหมือนกัน - ปุ่มในอีเมล
รู้ไหม ? ว่าคุณสามารถใส่ Call to Action เข้าไปยัง Email Marketing ได้ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่ได้รับอีเมลเหล่านั้น สามารถออกแบบให้สวยงามเหมือนหน้าเว็บไซต์ได้เช่นกัน - แคปชันโพสต์บน Social Media
หากโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของธุรกิจคุณ คุณจะรู้ได้ทันทีว่าคำกระตุ้นต่าง ๆ นั้นส่งผลต่อโพสต์บนโซเชียลมีเดียนั้นมากแค่ไหน พยายามเขียนให้ผู้ชมรู้ทันทีว่าพวกเขาควรทำอะไรต่อไป
ประโยชน์ของ Call to Action
สำหรับคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงรับรู้ได้หมดแล้วว่าปุ่ม Call to Action นั้นสำคัญแค่ไหน ไม่เพียงแต่เป็นปุ่มที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ชม แต่สามารถเปลี่ยนผู้ชมที่ผ่านไปผ่านมาบนหน้าเว็บไซต์ ให้กลายมาเป็นลูกค้าของคุณได้ทันทีด้วยปุ่มเดียว เรียกได้ว่ามีประโยชน์และมีความสำคัญต่อธุรกิจที่กำลังทำแคมเปญการตลาดหรือธุรกิจที่ต้องการทำ CRM ลูกค้าได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
สร้าง Call to Action อย่างไรให้น่าสนใจ
- ใช้คำที่บอกชัดว่าต้องทำอะไร
การกระตุ้นที่ดี คือการใช้คำที่บอกว่าเขาต้องทำอะไรอย่างชัดเจน เช่น เข้าร่วม Webinar วันนี้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการคลิกในทันที อย่างที่หลายคนบอก พลังของการใช้คำนั้นมีค่ามาก ๆ หากใช้คำที่ดี จะยิ่งกระตุ้นให้อยากคลิกมากกว่าเดิมแน่นอน - โฟกัสที่ Value
ปุ่ม Call to Action บางปุ่มนั้นมุ่งไปที่ส่งที่นำเสนอหรือส่งที่ผู้ชมจะได้ ด้วยการเพิ่มคำว่า “ฟรี” หรือ “ส่วนพิเศษ” ซึ่งจะดึงดูดการคลิกได้ดี แถมยังเพิ่ม Conversion ให้คุณด้วย - เพิ่มความอยากรู้หรือความคาดหวัง
ส่วนใหญ่แล้ว การเพิ่มความอยากรู้อยากเห็นหรือความคาดหวังให้กับผู้ชม ก่อนที่จะคลิก มักจะได้ผลดี โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการให้ผู้ชมร่วมเล่นเกม เสนอโปรโมชันให้กับผู้ชม เพื่อให้ความอยากรู้และกระทำสิ่งที่คุณต้องการ - ออกแบบ CTA ให้โดดเด่น
การออกแบบปุ่ม CTA ให้ดูโดดเด่นทำได้ไม่ยาก นอกจากการทำให้ใหญ่และเห็นเด่นชัด การเล่นสีก็สำคัญเช่นกัน ปกติหน้าเว็บไซต์ที่มีปุ่มนี้อยู่ ในส่วนนั้นมักจะออกแบบให้พื้นหลังมีสีขาว และเล่นสีกับปุ่ม เพื่อให้ดูโดดเด่นขึ้นมาจากหน้าเว็บไซต์ - อย่าลืมทดสอบปุ่ม CTA
บางครั้งการออกแบบและใช้คำดึงดูดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากคุณต้องการที่จะดูด้วยว่า ปุ่มนั้นทำงานแล้วได้ผลลัพธ์อย่างไร ลองทำทดสอบ A/B ของแต่ละปุ่ม ว่าปุ่มไหนทำงานออกมาได้ดีกว่ากัน หลังจากนั้นค่อยเลือกมาใช้เป็นปุ่มหลักที่คุณต้องการ
เพียงเท่านี้ คุณก็ได้รู้จักกับ Call to Action รวมถึงเทคนิคในการสร้างให้ดึงดูดผู้ชมกันแล้วใช่ไหมครับ? หวังว่าจะนำไปปรับใช้กับเว็บไซต์ของคุณได้ ในบทความหน้า ผมจะนำสาระน่ารู้หรือเรื่องที่น่าสนใจใด ๆ มาฝากอย่าลืมติดตามกันนะครับ